วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์


เซลล์พืชและเซลล์สัตว์


เซลล์ (CELL) หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต โดยเซลล์จะมีอยู่ในทุก ๆส่วนของพืช เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เซลล์ของพืชจะมีรูปร่างแตกต่างกัน ตามแต่หน้าที่และชนิดของพืชนั้น ๆ

เซลล์และโครงสร้างของเซลล์
ทฤษฎีเซลล์ (CELL THEORY ) ของชวานน์ และชไลเดน กล่าวว่า "สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์"
- เซลล์มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันมากมาย โดยทั่วๆ ไป เซลล์มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร
- สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว บางชนิด เช่น พืชกับสัตว์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก

ส่วนประกอบของเซลล์พืช เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสาร
เคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวก
ไกลโคโปรตีน
(Glycoprotein) เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้
เซลล์คงรูปร่างได้

2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบาง
อย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ
(Semipermeable Membrane)


3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้

3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast)
เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืชมองเห็นเป็นสีเขียวเพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียวคลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนสังเคราะห์ด้วยแสง

3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การแบ่งเซลล์

3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงส้างที่มีช่องว่างขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด
เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบ
ของนิวเคลียสมีดังนี้

4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
4.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียส
จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย
DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุม
การแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA
TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน

ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์


1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane )
มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้และทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่างๆ

2. ไซโตรพลาสซึม (
Cytoplasm)
มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบอื่นๆเซลล์ อาหารซึ่งได้แก่ น้ำตาล ไขมัน โปรตีน และของเสีย

3.
นิวเคลียส ( Nucleus )
มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
- นิวคลีโอลัส ( Nucleolus ) ประกอบไปด้วยสารพันธุกรรม DNA และ RNA มีการสร้างโปรตีนให้แก่เซลล์และส่งออกไปใช้นอกเซลล์
- โครมาติน (Chromatin) คือ ร่างแหของโครโมโซม โครโมโซมประกอบด้วย DNA หรือยีน ( Gene) โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน DNA เป็นตัวควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต โดยการควบคุมโครงสร้างของโปรตีนให้ได้ คุณภาพและปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น