วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การทำเค้ก

เค้กมะพร้าวอ่อน
  • ส่วนผสม 1 แป้งเค้ก 45 กรัม
    ผงฟู 1/4 ช้อนชา
    น้ำตาลทรายป่น 27 กรัม
    เกลือ 1/8 ช้อนชา
  • ส่วนผสม 2 ไข่แดงเบอร์สอง 2 ฟอง
    กะทิ 16.5 กรัม
    น้ำมันพืช 16.5 กรัม
    น้ำมะพร้าว 12 กรัม
  • ส่วนผสม 3 ไข่ขาวเบอร์สอง 2 ฟอง
    ครีมออฟทาร์ทาร์ 1/8 ช้อนชา
    น้ำตาลทรายป่น 27 กรัม
  • วิธีทำ

    ร่อนแป้งเค้ก ผงฟู เกลือ น้ำตาลป่นเข้าด้วยกัน พักไว้

    ในชามอีกใบผสมไข่แดง น้ำมันพืช กะทิ น้ำมะพร้าว ตีให้พอเข้ากัน เทส่วนผสมที่ 2 ลงในส่วนผสมที่ 1 คนให้ส่วนผสมเข้ากันดี พักไว้

    ใน ชามที่สะอาดตีไข่ขาวกะครีมออฟทาร์ทาร์ให้เป็นฟอง จากนั้นค่อยๆทะยอยใส่น้ำตาลป่นลงไป ตีไข่ขาวให้ขึ้นฟูตั้งยอดอ่อน แบ่งส่วนผสมไข่ขาวออกเป็น 3 ส่วน นำไข่ขาวลงไปตะล่อมกะส่วนผสม 1+2 อย่างเบามือทีละส่วน ทำแบบนี้จนหมดไข่ขาว

    เท ส่วนผสมที่ได้ลงในพิมพ์ขนาด 1 ปอนด์ กระแทกพิมพ์ 1 ครั้ง นำเข้าเตาอบที่อุณหภูมิ 180 C อบด้วยไฟล่าง นาน 15-20 นาที พอสุกแล้วนำออกจากเตา กระแทกพิมพ์แรงๆ 1 ครั้งๆ นำเค้กออกจากพิมพ์ พักไว้ให้เย็น

    ส่วนผสมไส้ครีมมะพร้าวอ่อน

    นม ข้นจืด 62.5 กรัม กะทิ 62.5 กรัม น้ำมะพร้าวอ่อน 75 กรัม น้ำตาล 25 กรัม แป้งกวนไส้ 15 กรัม เกลือ 1/8 ช้อนชา เนยสด 15 กรัม เนื้อมะพร้าวอ่อน 1 ลูก

    นำ นมข้นจืด กะทิ น้ำมะพร้าวอ่อน น้ำตาล แป้งกวนไส้ เกลือ ใส่ชาม คนให้เข้ากัน นำขึ้นตั้งไฟแบบ double-boiling คนส่วนผสมไปในทางเดียวกันตลอดเวลา จนกระทั่งแป้งสุก ส่วนผสมข้น ยกลงจากเตา ใส่เนยกับเนื้อมะพร้าวอ่อนลงไปคนให้เข้ากัน พักไว้ให้ส่วนผสมเย็นแล้วจึงนำไปทาบนเนื้อเค้ก

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์


เซลล์พืชและเซลล์สัตว์


เซลล์ (CELL) หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต โดยเซลล์จะมีอยู่ในทุก ๆส่วนของพืช เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ แตกต่างกันไป เซลล์ของพืชจะมีรูปร่างแตกต่างกัน ตามแต่หน้าที่และชนิดของพืชนั้น ๆ

เซลล์และโครงสร้างของเซลล์
ทฤษฎีเซลล์ (CELL THEORY ) ของชวานน์ และชไลเดน กล่าวว่า "สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์"
- เซลล์มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันมากมาย โดยทั่วๆ ไป เซลล์มีขนาด 10-100 ไมโครเมตร
- สิ่งมีชีวิตบางชนิดประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว บางชนิด เช่น พืชกับสัตว์ ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก

ส่วนประกอบของเซลล์พืช เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกัน
อันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสาร
เคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวก
ไกลโคโปรตีน
(Glycoprotein) เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้
เซลล์คงรูปร่างได้

2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุม
ปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบาง
อย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ
(Semipermeable Membrane)


3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้
เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้

3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast)
เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืชมองเห็นเป็นสีเขียวเพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียวคลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนสังเคราะห์ด้วยแสง

3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex) เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์

3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับ
การแบ่งเซลล์

3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงส้างที่มีช่องว่างขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ

4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด
เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส
นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบ
ของนิวเคลียสมีดังนี้

4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
4.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียส
จะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย
DNA หรือยีน (gene) ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุม
การแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA
TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน

ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์


1. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane )
มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆประกอบด้วยโปรตีนและไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมเซลล์ให้คงรูปอยู่ได้และทำหน้าที่ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารบางอย่าง เช่น น้ำ อากาศ และสารละลายต่างๆ

2. ไซโตรพลาสซึม (
Cytoplasm)
มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีสิ่งต่างๆปนอยู่ เช่น ส่วนประกอบอื่นๆเซลล์ อาหารซึ่งได้แก่ น้ำตาล ไขมัน โปรตีน และของเสีย

3.
นิวเคลียส ( Nucleus )
มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
- นิวคลีโอลัส ( Nucleolus ) ประกอบไปด้วยสารพันธุกรรม DNA และ RNA มีการสร้างโปรตีนให้แก่เซลล์และส่งออกไปใช้นอกเซลล์
- โครมาติน (Chromatin) คือ ร่างแหของโครโมโซม โครโมโซมประกอบด้วย DNA หรือยีน ( Gene) โปรตีนหลายชนิดทำหน้าที่ควบคุมการสร้างโปรตีน DNA เป็นตัวควบคุมการแสดงออกของลักษณะต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต โดยการควบคุมโครงสร้างของโปรตีนให้ได้ คุณภาพและปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม

สัตว์เคี้ยวเอื้อง


สัตว์เคี้ยวเอื้อง
ได้แก่ สัตว์เลี้ยงพวกโค กระบือ แพะและแกะ ซึ่งเป็นสัตว์สี่กระเพาะ เมื่อกินอาหารเข้าไปแล้วจะคายออกมาเคี้ยวเอื้องอีกครั้งก่อนจะถูกนำไปใช้เป็นประโยชน์
สัตว์เคี้ยวเอื้องอาจแบ่งแยกประเภทออกได้ตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการเลี้ยงดังนี้ คือ
๑. โคเนื้อ โคที่เลี้ยงในบ้านเราป็นโคขนาดเล็ก มีการเจริญเติบโตช้า ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ใช้งานเช่น ไถนา ทำไร่ และเทียมเกวียนหรือล้อเพื่อใช้ในการขนส่งระยะสั้นๆ หลังจากเลิกใช้งานแล้วก็ส่งเข้าโรงฆ่า ชำแหละออกมาเป็นเนื้อวัวสำหรับบริโภค
ปัจจุบัน ทางราชการได้นำโคพันธุ์เนื้อจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงหลายพันธุ์ และพบว่าโคเนื้อพันธุ์อเมริกันบราห์มัน หรือโคลูกผสมอเมริกันบราห์มัน (เช่น โคพันธุ์เดราต์มาสเตอร์) สามารถเลี้ยง และเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเรา นอกจากนี้ยังมีความทนทานต่อโรคเหมือนโคพื้นเมืองของไทย
๒. โคนม โคพื้นเมืองของไทยให้นมน้อยประมาณวันละ ๒-๓ ลิตร ทางราชการจึงได้ทดลองนำโคพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงหลายพันธุ์ด้วยกัน และพบว่าโคพันธุ์แท้ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเรายังไม่มีความเหมาะสมกับบ้านเรา โดยเฉพาะมีการแพ้โรคต่างๆ มาก และมักจะเสียชีวิตหลังจากนำเข้าไม่นานนัก จึงได้ผลิตโคลูกผสมโดยใช้โคพันธุ์นมจากต่างประเทศที่นำเข้ามาผสมกับวัวพื้นเมือง และพบว่าโคนมลูกผสมขาวดำ (โฮลสไตน์ ฟรีเชียน) กับโคพื้นเมืองเป็นโคนมลูกผสมที่ให้นมดีที่สุด บางตัวให้นมสูงถึง ๓๘ ลิตรต่อวัน และทั่วๆ ไปให้นมมากกว่า ๑๐ ลิตรต่อวัน
๓. กระบืองานหรือกระบือปลัก กระบือบ้านเราเรียกทั่วๆ ไปว่ากระบือปลักหรือกระบือที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้งานเป็นหลัก ให้น้ำนมน้อยประมาณวันละ ๑-๒ ลิตร และเมื่อเลิกใช้งานแล้วก็ส่งเข้าโรงฆ่าเอาเนื้อมาบริโภค
๔. กระบือนมหรือกระบือแม่น้ำ กระบือชนิดนี้เป็นกระบือที่นำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อเลี้ยงเอาไว้รีดนมโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า กระบือแม่น้ำเป็นการเรียกตามชาวต่างประเทศที่เรียกว่า ริเวอร์บัฟฟาโล (River buffalo)
กระบือนมมีหลายพันธุ์แต่ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเราคือ กระบือพันธุ์มูร์ราห์ ซึ่งมีการให้นมประมาณวันละ ๗-๘ ลิตร แต่บางตัวให้นมสูงถึง ๒๐ ลิตรหรือกว่านั้น
กระบือพันธุ์นี้นอกจากให้นมแล้วยังใช้งานได้ด้วย และเมื่อรีดนมแล้วก็สามารถใช้เนื้อบริโภคได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันได้มีการนำกระบือมูร์ราห์มาผสมกับกระบือบ้านเรา ปรากฏว่าลูกออกมาให้น้ำนมมากขึ้น และสามารถใช้งานได้ดีเช่น กระบือพื้นเมือง และเนื้อก็มีคุณภาพดี
๕. แพะ แพะพื้นเมืองของบ้านเรามีเลี้ยงกันมากในภาคใต้ ตัวค่อนข้างเล็ก หนักประมาณ ๑๐-๑๘ กิโลกรัม และมีนมน้อย ทางราชการจึงได้นำแพะพันธุ์นมจากต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเรา และพบว่าแพะพันธุ์ซาเนนเหมาะสมที่จะเลี้ยงขยายพันธุ์ในบ้านเราโดยเฉพาะซาเนนลูกผสม ซึ่งให้น้ำนมประมาณวันละ ๒-๔ ลิตร และมีความทนทานต่อโรคมากกว่าแพะพันธุ์แท้ที่นำเข้ามาทดลองเลี้ยง
๖. แกะ แกะพื้นเมืองเลี้ยงกันมากในภาคใต้เช่นเดียวกับแพะ ตัวมีขนาดเล็กมากประมาณ ๘-๑๒ กิโลกรัมแต่มีความทนทานต่อโรคดี ทางราชการได้ทดลองนำแกะพันธุ์ต่างๆเข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเรา และพบว่าแกะพันธุ์แท้ที่นำเข้ามายังไม่สามารถเลี้ยงได้ในสภาพแวดล้อมของบ้านเรา แต่แกะลูกผสมที่เกิดจากแกะพันธุ์ดอร์เซตและพันธุ์พื้นเมืองจะสามารถเลี้ยงในบ้านเราได้เป็นอย่างดี และมีน้ำหนักประมาณ ๒๕-๓๐ กิโลกรัม ซึ่งเหมาะสมจะนำมาใช้ส่งเสริมให้เลี้ยงแกะในบ้านเรา

[กลับหัวข้อหลัก]

โคนมลูกผสมขาวดำ (Holstein Friesian)


กระบือพันธุ์มูร์ราห์แท้ตัวผู้


แพะพันธุ์ซาเนน (Saanen) ตัวเมีย

สัตว์กระเพาะเดียว
สัตว์กระเพาะเดียวที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศคือสุกร ซึ่งมีการเลี้ยงกันมากทั่วประเทศ
สุกรพื้นเมืองเดิมมีชื่อต่างๆ กัน เช่น พวง แรด และอื่นๆ มีลำตัวค่อนข้างเล็ก แต่ให้ลูกดกและมีความทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดีซึ่งไม่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงเพื่อธุรกิจการค้า
ต่อมาจึงได้มีการนำสุกรพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเราหลายพันธุ์ด้วยกัน และพบว่าสุกรพันธุ์แท้บางพันธุ์สามารถเลี้ยงได้ดีในบ้านเรา ซึ่งได้แก่สุกรพันธุ์ต่อไปนี้
(๑) ดูร็อกเจอร์ซี
(๒) ลาร์จไวต์
(๓) แลนด์เรซ
นอกจากนี้ก็ได้มีผู้นำสุกรพันธุ์ผสมเข้ามาเลี้ยงอีกหลายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่เป็นสุกรพันธุ์ผสมซึ่งเกิดจากสุกรทั้งสามพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงนำสุกรพันธุ์เหมยซาน ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวน ๔ คู่ มาให้กรมปศุสัตว์ทดลองเลี้ยงและขยายพันธุ์ พบว่าสุกรพันธุ์นี้สามารถให้ลูกดกมากเฉลี่ยครอกละ ๑๖ ตัว และมีบางครอกให้ลูกถึง ๒๔ ตัว สามารถเจริญเติบโตได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองเดิม มีเนื้อมาก และเนื้อมีคุณภาพดี
เพื่อให้สุกรนี้มีลักษณะดีขึ้นกว่าที่มีอยู่เดิม กรมปศุสัตว์ได้นำสุกรพันธุ์นี้มาทดลองผสมกับสุกรทั้งสามพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น และพบว่าสุกรลูกผสมเหมยซานกับดูร็อกเจอร์ซี่จะมีลักษณะดีที่สุดทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ การเจริญเติบโตคุณภาพของเนื้อ และความทนทานต่อโรค
สุกรพันธุ์ลูกผสมเหมยซานและดูร็อกเจอร์ซี่ ที่กรมปศุสัตว์ผสมขึ้นเพื่อให้เกษตรกรในชนบทได้นำไปเลี้ยงนั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า "สุกรมิตรสัมพันธ์"

[กลับหัวข้อหลัก]

สุกรพันธุ์แลนด์เรซตัวผู้


สุกรพันธุ์เหมยซานตัวผู้

สัตว์ปีก

สัตว์ปีกที่มีการเลี้ยงกันในแง่ของการค้าคือ
๑. ไก่
๒. เป็ด
๓. ห่าน
๔. ไก่งวง
๕. นกกระทา

๑. ไก่
ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในบ้านรา เป็นไก่ที่เจริญเติบโตช้า ให้ไข่น้อย และมีลำตัวค่อนข้างเล็ก แต่มีความทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี
ปัจจุบันมีผู้นำไก่จากต่างประเทศมาเลี้ยงในรูปของการค้ากันมาก จนถึงกับมีการส่งเนื้อไก่ออกไปขายต่างประเทศจำนวนมาก ไก่ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
ก. ไก่เนื้อ ไก่เนื้อ คือไก่ที่เลี้ยงประมาณ ๘ สัปดาห์หรือ ๕๖ วัน ก็จะส่งตลาดหรือเข้าโรงฆ่า เป็นไก่ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและมีเนื้อมาก หากมีการให้อาหารตามคุณภาพที่กำหนด
ไก่เนื้อที่นำเข้ามาเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นไก่ลูกผสมที่ผลิตจากบริษัทต่างๆ ในต่างประเทศ โดยประเทศของเรายังไม่สามารถผลิตไก่เนื้อที่มีคุณภาพดีเท่าต่างประเทศได้
ไก่เนื้อที่นำเข้ามาส่วนใหญ่เป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งเมื่อเลี้ยงแล้วผสมพันธุ์ ลูกที่ออกมาก็จะนำไปเลี้ยงเป็นไก่เนื้อส่งโรงฆ่า แต่มีบางฟาร์มได้นำปู่ย่าตายายมาเลี้ยงเพื่อนำมาผลิตพ่อแม่พันธุ์ แล้วจึงขยายเป็นไก่เนื้ออีกครั้ง
ข. ไก่ไข่ ไก่ไข่ในระยะเริ่มแรกที่นำเข้ามาเลี้ยง เมื่อประมาณ ๔๐ ปีจนถึงเมื่อประมาณ ๑๕ ปีที่แล้วมา ส่วนใหญ่เป็นไก่พันธุ์แท้ซึ่งได้แก่ไก่พันธุ์โรดไอส์แลนด์แดง และพันธุ์เล็กฮอร์นขาวเป็นหลัก แต่ต่อมาได้มีการนำไก่ไข่ลูกผสมจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่จนอาจกล่าวได้ว่าปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์แท้ก็ว่าได้ นอกจากไก่ของหน่วยงานของรัฐบาล
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำไก่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้น้อมเกล้าฯ ถวายไข่ฟักจำนวนหนึ่ง และได้พระราชทานให้กรมปศุสัตว์นำไปฟักและเลี้ยงขยายพันธุ์ ปรากฏว่าไก่พันธุ์นี้เลี้ยงได้ดีในบ้านเรา กินอาหารได้ทุกอย่างมีการเจริญเติบโตดี ตัวผู้น้ำหนักประมาณ ๕กิโลกรัมเมื่อโตเต็มที่ และตัวเมียหนักประมาณ ๒.๐-๒.๕ กิโลกรัมเมื่อโตเต็มที่ และมีไข่ดกกว่าไก่พื้นเมืองมาก
ในการปรับปรุงให้ไก่พื้นเมืองมีคุณภาพดีขึ้น ไก่เซี่ยงไฮ้จำนวนหนึ่งได้ถูกนำไปผสมข้ามพันธุ์กับไก่พื้นเมือง ซึ่งปรากฏว่าไก่ลูกผสมที่ผลิตออกมาเลี้ยงง่าย โตเร็ว น้ำหนักมาก และให้ไข่ดกกว่าไก่พื้นเมืองมาก

๒. เป็ด เป็ดพื้นเมืองของเรามีเลี้ยงมากที่นครปฐม สมุทรปราการและชลบุรี จึงมักเรียกชื่อเป็ดพื้นเมืองตามแหล่งที่เลี้ยงว่าเป็ดนครปฐม เป็ดปากน้ำ และเป็ดชลบุรี เป็นต้น
เป็ดพื้นเมืองตัวค่อนข้างเล็ก การเจริญเติบโตช้า แต่มีไข่ดกดีพอสมควร มักจะพบบ่อยๆ ว่าเป็ดพื้นเมืองไข่เกิน ๒๐๐ ฟองต่อปีแต่ไข่มีขนาดเล็ก
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มีการนำเป็ดจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราในระยะหลังๆ
เป็ดที่นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
ก. เป็ดไข่ เป็ดไข่ที่นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่ เป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์เป็นเป็ดที่มีอัตราการไข่ค่อนข้างสูง บางตัวไข่ถึง ๓๐๐ ฟองต่อปี แต่บางครั้งก็มีปัญหาเรื่องโรคจึงได้มาผสมข้ามพันธุ์กับเป็ด พื้นเมือง ปรากฏว่าเป็ดลูกผสมกากีแคมเบลล์ให้ไข่ดกและไข่ใหญ่กว่าเป็ดพื้นเมืองมาก จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป
ข. เป็ดเนื้อ เป็ดเนื้อที่นำเข้าเลี้ยงในบ้านเรามีหลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือเป็ดพันธุ์ปักกิ่ง และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ก็ได้พระราชทานไข่เป็ดพันธุ์ปักกิ่งซึ่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนน้อมเกล้าฯ ถวาย ให้กรมปศุสัตว์นำไปฟักและเลี้ยงขยายพันธุ์ ปรากฏว่าเป็ดนี้ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเรา แต่บางครั้งก็ยังมีปัญหาเรื่องโรค จึงผสมเป็ดระหว่างพันธุ์ปักกิ่งกับพันธุ์พื้นเมืองก็ปรากฏว่าเป็ดลูกผสมดังกล่าวมีการเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเรา และมี
น้ำหนักมากเมื่อถึงอายุส่งตลาด

๓. ห่าน ห่านที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่เป็นห่านจีน มีทั้งชนิดตัวสีขาวและสีน้ำตาลห่านกินอาหารได้ทุกชนิดทั้งหญ้า ผัก เมล็ดพืช ปลา หรือ อาหารผสม แต่เนื่องจากคนไทยยังไม่ค่อยนิยมบริโภคจึงมีการเลี้ยงค่อนข้างจำกัด

๔. ไก่งวง ไก่งวงสามารถกินอาหารต่างๆ ได้คล้ายกับห่าน เกษตรกรมักจะเลี้ยงปล่อยให้หาอาหารกินเอง
ไก่งวงที่เลี้ยงในบ้านเรามีทั้งชนิดสีขาวและสีเทาปนน้ำตาล แต่ไม่ค่อยแพร่หลายนัก ยกเว้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างมากกว่าภาคอื่นๆ เพราะคนไทยยังไม่นิยมบริโภคไก่งวงมากนัก

๕. นกกระทา นกกระทาที่เลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่นำมาจากประเทศญี่ปุ่น และเลี้ยงเพื่อเอาไข่เป็นหลัก มีการเลี้ยงกันบ้างในภาคกลางแต่ก็ยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร